กับรูปแบบฐานข้อมูลที่เลือกใช้ ผลที่ได้จะเป็นเค้าร่างของฐานข้อมูลที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สามารถนำไปกำหนดภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (DDL) ในขั้นตอนการออกแบบในระดับกายภาพได้ขั้นตอนนี้จึงเป็นการแปลงผลจากการออกแบบในระดับแนวคิด (Mapping) ให้อยู่ในรูปแบบของระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่เลือกใช้ เช่น รูปแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management Systems :
RDBMS) ในขั้นตอนนี้เป็นการแปลงเค้าร่างในระดับแนวคิดให้เป็นรีเลชั่นที่ประกอบด้วย แอททริบิวต์รวมถึงการระบุข้อกำหนดต่างๆ ให้กับรีเลชั่น เช่น คีย์หลัก คีย์นอก โดเมนของแอททริบิวต์ และมีการใช้แนวคิดเรื่องการจัดระบบข้อมูลในรูปแบบบรรทัดฐาน (Normalization) เข้ามาช่วยในการ
ออกแบบเพื่อปรับการออกแบบฐานข้อมูลที่เหมาะสม
ปัจจัยที่ใช้ประกอบการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูลมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้าน
เทคนิค ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นๆ ให้ความสำคัญของปัจจัยใดมากกว่ากัน
(1) ปัจจัยในการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูล
ในการเลือกระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะนำ มาใช้ ควรจะคำ นึงถึงต้นทุนและ
ผลประโยชน์ที่จะได้รับว่าคุ้มค่าที่จะนำมาใช้หรือไม่ ปัจจัยด้านต้นทุนที่ควรพิจารณาประกอบด้วย
(2) ต้นทุนของซอฟท์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นๆ ว่ามีต้นทุนมากน้อยเพียงใด
(3) ต้นทุนฮาร์ดแวร์ที่จะต้องจัดมาเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการซื้อใหม่ หรือซื้อเพิ่มเติม
จากที่มีอยู่ปัจจุบัน
(4) ต้นทุนในการบำรุงรักษา ซึ่งเป็นต้นเหตุที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา และการ
ปรับระบบฐานข้อมูลให้เป็นรุ่นใหม่ในอนาคต
(5) ต้นทุนด้านบุคลากร เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรที่จะมาทำงาน ไม่ว่าจะเป็น
ผู้จัดการฐานข้อมูล หรือเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านระบบฐานข้อมูล
(6) ค่าใช้จ่ายในการอบรม มีค่าใช้จ่ายในการอบรมบุคลากรสูงหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไป
บริษัทที่ขายซอฟท์แวร์จะให้บริการด้วยการด้วยการจัดอบรมให้
(7) ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการอื่นๆ เช่น การปรับเปลี่ยนข้อมูลเดิมมาเป็นระบบใหม่
ว่ามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น